ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักการและเหตุผล

      โรงเรียนบ้านหนองต่อ ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ที่ได้พระราชทานเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเหมาะพอดี มีเหตุมีผลและความไม่ประมาทสู่สถานศึกษา เพื่อชับเคลื่อนประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาบนพื้นฐานหลัก ๒:๓:๔:๓ คือ ๒ เงื่อนไข ๓ หลักการ ๔ มิติ และ ๓ ศาสตร์ และหลักSDGs เป็นหลักคิดและแนวทางการดำเนินชีวิตแก่นักเรียนด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับคนอื่นได้ อย่างมีความสุข และเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป โดยได้จัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการปฏิบัติเพื่อสร้างทักษะอาชีพให้กับผู้เรียนบูรณาการสู่การปฏิบัติเป็นจิตพิสัยโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาผู้เรียน คือ พออประมาณกับศักยภาพของผู้เรียน พอประมาณกับภูมิสังคมของโรงเรียนและชุมชน ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็นอย่างมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันในด้านต่างๆ โดยดำเนินกิจกรรมต้องนำไปสู่ความยั่งยืนของผล ส่งผลให้ผู้เรียนใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวังฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีคุณธรรมความรับผิดชอบ อดทน มีความพากเพียรวินัย มีสัมมาคารวะ รู้จักทำประโยชน์ให้แก่สังคม
      ทั้งนี้ การดำเนินการด้านการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่สถานศึกษาประสบความสำเร็จ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและสถานศึกษาตลอดจนผู้ปกครอง และชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่มุ่งมั่นร่วมกันส่งเสริม พัฒนาการจัดการศึกษา อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนด้อยโอกาสให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป

     ในการพัฒนาโรงเรียนบ้านหนองต่อมีการบริหารงานโดยใช้รูปแบบการบริหาร MOD-NGAN TEAM (มดงานทีม)ซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่ตรงตามศักยภาพของบุคลากรโดยเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้ตรงความต้องการเป้าหมายและเชื่อว่าทุกสิ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยความตั้งใจเอาใจใส่พร้อมเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับเครือข่ายบนพื้นฐานของการทำงานเป็นทีมผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพตามยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างรอบด้านยึดหลักธรรมา ภิบาล ได้แก่ นิติธรรม คุณธรรม โปร่งใส ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า และมีส่วนร่วมมีการประสานงานตามหลักของบวร คือ ความร่วมมือจากบ้าน วัด โรงเรียน และใช้วงจรเด็มมิ่ง (PDCA) มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานสู่เป้าหมายความสำเร็จ มีการกระจายอำนาจไปยังฝ่ายบริหาร ทั้ง ๔ ฝ่าย ดังนี้ ฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารงานบุคคล ฝ่ายบริหารทั่วไป และฝ่ายบริหารงบประมาณ